การประมาณค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ทำได้ 2 วิธี | |||||||||
1. ประมาณจากยอดขายเชื่อ | |||||||||
2. ประมาณจากยอดลูกหนี้ | |||||||||
การประมาณค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญจากยอดขายเชื่อ | |||||||||
เป็นการประมาณโดยวิจารณญาณจากประสบการณ์ของผู้บริหารของบริษัทเอง โดยกำหนดอัตราเป็น | |||||||||
เปอร์เซนต์ขึ้นมา เช่น อาจประมาณจากปีที่ผ่านๆมาว่า ยอดขายแต่ละปีมีจำนวนเงินเท่าไร และมีหนี้ที่เรียกเก็บ | |||||||||
ไม่ได้จำนวนเงินเท่าไร คำนวณออกมาเป็นอัตราร้อยละของยอดขายเชื่อ และพิจารณาประกอบไปกับสภาวะทาง | |||||||||
เศรษฐกิจปัจจุบัน ตลอดจนพยากรณ์แนวโน้มในอนาคตประกอบด้วย | |||||||||
(เรื่องของการกำหนดอัตรา % นี้ นักศึกษาไม่ต้องกังวล อาจารย์จะระบุมาให้เองว่า จะให้ประมาณหนี้- | |||||||||
สงสัยจะสูญเป็นร้อยละเท่าไรของยอดขายเชื่อ นักศึกษาสามารถนำอัตราร้อยละ คูณ ยอดขายเชื่อได้เลย) | |||||||||
คลิกดูตัวอย่าง: | |||||||||
ตัวอย่างที่ 1 การประมาณค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญจากยอดขายเชื่อ - ปีที่ 1 (ไม่มียอดยกมา) | |||||||||
ตัวอย่างที่ 2 การประมาณค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญจากยอดขายเชื่อ - ปีถัดไป (มียอดยกมา) | |||||||||
การประมาณค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญจากยอดลูกหนี้ | |||||||||
การประมาณจากยอดลูกหนี้ สามารถทำได้ 2 วิธี | |||||||||
วิธีที่ 1 | ใช้อัตราร้อยละ คูณ ยอดลูกหนี้ (อัตราร้อยละนั้น กำหนดโดยผู้บริหารกิจการ) | ||||||||
วิธีที่ 2 | ทำงบแยกอายุลูกหนี้ (Aging of Accounts Receivable หรือ Aging | ||||||||
Receivables) แล้วพิจารณาไปตามยอดที่ค้างชำระนาน | |||||||||
การทำงบแยกอายุลูกหนี้ | คือการจัดยอดลูกหนี้ทั้งหมด ซึ่งต้องดูในรายละเอียดแจกแจงลูกหนี้ | ||||||||
ออกเป็นกลุ่มๆ ตามระยะเวลาที่ค้างชำระ จะแบ่งย่อยกี่กลุ่มก็แล้วแต่ความเหมาะสมของแต่ละธุรกิจ | |||||||||
[ คลิกดูตัวอย่างวิธีการทำงบแยกอายุลูกหนี้
ในการประมาณค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญจากยอดลูกหนี้ ] |
|||||||||